วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 7 วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

การบันทึกครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา

โรงเรียนเกษมพิทยา

เปิดสอนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (อนุบาล - มัธยมศึกษา) นายเกษม สุวรรณดี เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเกษมพิทยา โดยมีอุดมการณ์ที่ จะจัดการศึกษาให้กับเยาวชนของชาติให้มีความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อสร้างความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเป็น เยาวชนที่ดีของครอบครัวสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป

โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2504 พร้อมทั้ง ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก จำนวน 5 ห้องเรียนและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้เปิดระดับอาชีวศึกษา คือ โรงเรียนเกษมโปลีเทคนิค และระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2530 สำหรับแผนกอนุบาลเริ่มเปิดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2533 จึงนับได้ว่าเป็นสถานศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา
ในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นการศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรวมของเด็กในแต่ละห้อง
ดิฉันได้ศึกษาดู ห้อง อนุบาลปีที่ 3/1 ครูประจำชั้นคุณครูนก
น้องที่ดิฉันสังเกตพฤติกรรม ชื่อ น้องวิว 


กิจกรรมแรกที่เข้าไปในโรงเรียนคือ กิจกรรมหน้าเสาธง




การเข้าอบรม


ในการเข้าอบรมนั้นคุณครูโรงเรียนเกษมพิทยาคม แจกเอกสารประกอบการอบรมคือ 
1. การเรียนรู้หลักสูตรไฮสโคป 
2. แนะนำแผนกอนุบาลโรงเรียนเกษมพิทยา
3. มาเข้าใจพัฒนาภาษาแบบธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัย

การสังเกตพฤติกรรมเด็ก
น้อง วิว ชั้นอนุบาล 3/1
กลุ่มอาการ : บกพร่องทางการได้ยิน
พฤติกรรม 
  • น้องวิวสามารถเปล่งเสียงแต่ไม่ชัด ไม่เข้าใจเช่น อือ เออ น้องรับฟังคำสั่งและทำตาม
  • น้องมีเครื่องช่วยฟัง
  • น้องสามารถสื่อสารกับเพื่อนได้ผ่านทางภาษามือ  
  • น้องเล่นของเล่นร่วมกับเพื่อน มีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างคล่องแคล่ว
  • น้องวิวทำกิจกรรมผักบุ้งร่วมกับเพื่อนในห้อง น้องวิวไม่พูดคุยกับเพื่อน น้องขยับปากไปมาโดยที่ไม่มีเสียง น้องนำเสนอส่วนประกอบของผักบุ้ง พูดไม่ชัด คุณครูบอกให้ชี้ใบน้องวิวสามารถชี้ได้ ออกเสียง อือ เออ 
พัฒนาพฤติกรรม
  1. สร้างโอกาสให้น้องได้เล่นร่วมกับเพื่อนอยู่เสมอ ผ่านการทำงานเป็นกลุ่ม 
  2. ส่งเสริมการสื่อสารที่ดีในห้องเรียนอย่างเหมาะสม 
  3. สนับสนุนให้เพื่อนช่วยเพื่อน
  4. ช่วยส่งเสริมให้น้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ในการสื่อสาร ไม่ตำหนิ 
  5. สร้างแรงบันดาลใจในการทุำกิจกรรม การเรียน การส้รางผลงาน 
  6. ไม่ทำให้น้องมีความแตกต่างจากเด็กคนอื่นๆในห้อง
  7. คอยสังเกตพัฒนาด้านต่างๆของน้องอยู่เสมอ
  8. อาจจะสอดแทรกการเรียนการสอนเรื่อง ภาษามือ เพื่อช่วยให้เพื่อนในห้องสื่อสารกับน้อง

ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน






ของที่ระลึกจากเด็กๆ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น