วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 1 วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

การบันทึกครั้งที่ 1
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
- ในช่วงแรกอาจารย์ปฐมนิเทศนักศึกษาและพูดข้อตกลงในการเรียนวิชานี้
- เริ่มเรียนเกี่ยวกับทฤฎีต่างๆ ดังนี้


เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ( Early Childhood with special needs )

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. ทางการแพทย์ 
มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ”
หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

2. ทางการศึกษา
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง

  • เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
  • มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
  • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
  • จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษพัฒนาการ

  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม

  • เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
 Cleft Lip / Cleft Palate
ธาลัสซีเมีย
2. โรคของระบบประสาท

  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
  • ที่พบบ่อยคืออาการชัก

3. การติดเชื้อ

  • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
  • นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง

4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม

  • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ

5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด

  • การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน

6. สารเคมี

  • ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
  • มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญา
แอลกอฮอล์

  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

Fetal alcohol syndrome, FAS

  • ช่องตาสั้น
  • ร่องริมฝีปากบนเรียบ
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น

นิโคติน

  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ เป็นต้น

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ

  • โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
  •  การเจ็บป่วยในครอบครัว
  •  ประวัติฝากครรภ์
  •  ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
  •  พัฒนาการที่ผ่านมา
  •  การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
  •  ปัญหาพฤติกรรม
  •  ประวัติอื่นๆ

เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า

  •  ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
  •  เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
  • มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  • สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
  • ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย

  •  ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต
  • ผิวหนัง
  • ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

  • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
  • การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
  • แบบทดสอบ Denver II
  •  Gesell Drawing Test
  •  แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล

กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาทดสอบตนเอง โดยใช้แบบทดสอบ
Gesell Drawing Test เป็นการวัดไอคิวเด็กแบบง่ายๆ ลองให้เด็กวาดรูปตามแบบที่กำหนดซึ่งเป็น
ความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือตามระดับอายุที่ควรจะเป็น
Gesell Drawing Test
ความรู้ที่ได้รับ
- การทบทวนความรู้เดิมที่มีอยู่
- เทคนิคการใช้คำพูดเพื่อใช้สนทนากับผู้ปกครอง
- เทคนิคการทัศนะคติที่ดีต่อเด็ก
- เทคนิคการทดสอบสมองของเด็ก
- การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการพิเศษ
การนำไปใช้
- เทคนิคการใช้คำพูดเพื่อใช้สนทนากับผู้ปกครองเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
- วิธีการสังเกตและเทคนิคการเรียนการสอนของเด็กพิเศษในห้องเรียน
- ใช้แบบทดสอบสมองให้แก่เด็กในห้องเรียนได้
- ให้คำปรึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครองได้
ประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งเรียน แต่งตัวถูกระเบียบ
เพื่อน : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
อาจารย์ : แต่งกายเหมาะสม บุคลิกดี สอนเป็นกันเอง มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น