วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่3 วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560

การบันทึกครั้งที่ 3
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)

ความบกพร่องทางการพูดหมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับ ปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่
1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
  • เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม" 
  • ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน" กวาด ฝาด 
  • เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม" 
  • เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว" 
2.ความบอกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders)
  • พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอนไม่เป็นไปตามโครงนสร้างของภาษา 
  • การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง 
  • อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป 
  • จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ 
  • เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย 
3.ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
  • ความบกพร่องของระดับเสียง 
  • เสียงดังหรือค่อยเกินไป 
  • คุณภาพเสียงไม่ดี พูดแล้วไม่น่าฟัง 
ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูดและ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
  • มีความยากลำบากในการใช้ภาษา 
  • มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค 
  • ไม่สามารถสร้างประโยคได้ 
  • มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ 
  • ภาษาทีใช้เป็นภาษาห้วนๆ
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมากจากพยาธิภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
  • อ่านไม่ออก (alexia) *โตแล้วก็ยังทำไม่ได้ 
  • เขียนไม่ได้ (agraphia) *โตแล้วก็ยังทำไม่ได้ 
  • สะกดคำไม่ได้ 
  • ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง 
  • จำคำหรือประโยคไม่ได้ 
  • ไม่เข้าใจคำสั่ง 
  • พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ 
Gerstmann's syndrome *อาการหนักสุด !!
  • ไม่รู้จักชื่อนิ้ว (finger agnosia) 
  • ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria) 
  • คำนวณไม่ได้ (acalculia) 
  • เขียนไม่ได้ (agraphia) 
  • อ่านไม่ออก (alexia) 
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
  • ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง 
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน 
  • ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ 
  • หลัง 3 ขวบแล้วภาษาของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก (เข้าใจอยู่คนเดียว) 
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ 
  • หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เปนประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา 
  • มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก 
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย (ใช้ภาษามือ) 
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน 
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป (แขน ขา ขาด) 
  • เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง 
  • มีปัญหาทางระบบประสาท (ไม่ใช่บ้า) 
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว (เดินกะเพก)
โรคลมชัก (Epilepsy)
เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินไปปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน(สมองส่งกระแสกประสาทผิดเพี้ยน ยังไม่สามารถระบะสาเหตุได้ชัดเจน)
1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal) 
อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 วินาที มีการกระพิบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนไปชั่วครู (บางคนอาจกรีดร้อง หรือ เกร็ง)
3.อาการชักแบบ (Partial Complex)
  • มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที 
  • เหม่อนิ่ง 
  • เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้ไม่ตอบสนองต่อคำพูด 
  • หลักชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก (หน้าตาเหมือนเมาเหล้าเวลาชัก)
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น

การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
  • จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง 
  • ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก 
  • หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆ รองศีรษะ 
  • ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง 
  • จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม 
  • ห้ามนำวัตถุใดๆ ใส่ในปาก 
  • ทำการช่วยหายใจดดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
ซี.พี. (Cerebral Palsy)
การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือ หลังคลอด
การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกันไม่ส่งผลต่อ IQ
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (Spasitc)
  • Spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก (แขนขวา ขาขวา , แขนซ้าย ขาซ้าย) 
  • Spastic dipleagia อัมพาตครึ่งท่อนบน (แขนขวา , แขนซ้าย) 
  • Spasitc paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง (ขาขวา , ขาซ้าย) 
  • Spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (Athetoid , Ataxia)
  • Athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือ เคลื่อนไวเร็วๆ ที่เท้า แขน มือ หรือ ใบหน้าของเด็กบางรายอาจจมีคอเอียงปากเบี้ยวร่วมด้วย 
  • Ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) 
  • เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนๆนั้น เสื่อมสลายตัว 
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ 
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม 
โรงทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) สามารถรักษาได้ กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการดูกพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระพูกผุ เป้นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
โปลิโอ (Poliomyelitis)
  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา 
  • ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม

โรงทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) สามารถรักษาได้ กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการดูกพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระพูกผุ เป้นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
โรคอื่นๆ
  • โรคระบบทางเดินหายใจ 
  • โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) 
  • โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) 
  • โรคมะเร็ง (Cancer) 
  • เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) 
  • แขนขาด้วนตั้งแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว 
  • ท่าเดินคล้ายกรรไกร 
  • เดินกะเผลกขา หรืออืดอาดเชื่องช้า 
  • ไอเสียงแห้งบ่อยๆ 
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง 
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจากบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว 
  • หกล้มบ่อยๆ 
  • หิวและกระกายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ 
ความรู้ที่ได้รับ
- การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการพิเศษ
การนำไปใช้
- นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ เราจะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้ เมื่อเด็กมีอาการกำเริบเราสามารถนำความรู้ที่มีมาปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
เทคนิคการสอน
- เทคการใช้สื่อในการสอน
-เทคนิคการอธิบาย
- เทคนิคการใช้ตัวอย่าง
ประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
เพื่อน : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
อาจารย์ : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีแผนการสอนล่วงหน้า

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 2 วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560

การบันทึกครั้งที่ 2
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560


เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา
เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
 เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญา มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน 
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
  • พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน 
  • เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 
  • อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม 
  • มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก 
  • จดจำได้รวดเร็วแม่นยำ 
  • มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย 
  • มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลก ๆ 
  • เป็น้คนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต 
  • มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน 
  • ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน 
เด็กฉลาด
  • ตอบคำถาม 
  • สนใจเรื่องที่ครูสนอ 
  • ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน 
  • ความจำดี 
  • เรียนรู้ง่ายและเร็ว 
  • เป็นผู้ฟังที่ดี 
  • พอใจในผลงานของตน
Gifted
  • ตั้งคำถาม 
  • เรียนรู้สิ่งที่สนใจ 
  • ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า 
  • อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน 
  • เบื่อง่าย 
  • ชอบเล่า 
  • ติเตียนผลงานของตน

2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
  • เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา 
  • เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 
  • เด็กที่บกพร่องทางการเห็น 
  • เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
  • เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 
  • เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
  • เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 
  • เด็กออทิสตก 
  • เด็กพิการซ้อน 
เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
 เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และ เด็กปัญญาอ่อน
เด็กเรียนช้า
  • สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ 
  • เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ 
  • ขาดทักษะในการเรียนรู้ 
  • มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย 
  • มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 
สาเหตุของการเรียนช้า
1. ภายนอก 
  • เศรษฐกิจของครอบครัว 
  • การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก 
  • สภาะวะทางด้านอารณ์ของคนในครอบครัว 
  • การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ 
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ 
2. ภายใน
  • พัฒนาการช้า 
  • การเจ็บป่วย 
เด็กปัญญาอ่อน
  • ระดับสติปัญญาต่ำ
  • พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย 
  • มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง 
  • อาการแสดงก่อนอายุ 18
พฤติกรรมการปรับตน
  • การสื่อความหมาย 
  • การดูแลตนเอง 
  • การดำรงชีวิตภายในบ้าน 
  • การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม 
  • การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน 
  • การควบคุมตนเอง 
  • การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน 
  • การใช้เวลาว่าง 
  • การทำงาน 
  • การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม

1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  • ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย 
  • ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น 
  • แขนขาลีบ 
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 C.M.R
  • ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้อต้นง่าย ๆ 
  • กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation) 
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49 T.M.R
  • พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้ 
  • สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ 
  • เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 E.M.R
  • เรียนในระดับประถมศึกษาได้ 
  • สามารถฝึกอีพและงานง่าย ๆ ได้ 
  • เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded) 
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย 
  • ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก 
  • ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงว่าย รอคอยไมม่ได้ 
  • ทำงานช้า 
  • รุนแรง ไม่มีเหตุผลงอวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน 
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน 
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome


สาเหตุ
  • ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 
  • ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21 ) 
อาการ 
  • ศีรษะเล็กและเบน คอสั้น 
  • หน้าแบน ดั้งจมูกแบน 
  • ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก 
  • ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ 
  • เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต 
  • ช่องปากแคบ ลื้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ 
  • มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น 
  • เส้นลายมือตัดขวง นิ้วก้อยโค้งงอ 
  • ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง 
  • มีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย 
  • บกพร่องทางสิตปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง 
  • อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร 
  • มีปัญหาในการใช้ภาาษาและการพูด 
  • อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง 
  • เป็นหมันในเพศชาย 
  • ผู้หญิงสามารถท้องได้ 
การตรวจวินิจฉัยก่อนกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์ 
  • อัลตราซาวด์ 
  • การตัดชิ้นเนื้อรก 
  • การเจาะน้ำคร่ำ
ด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)

เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 
เด็กหูตึง
 เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 db เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิหรือเสียงที่ไกล ๆ 
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ตั้งใจในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
  • จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
  • มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไมัด ออกเสียงเพี้ยน
  • พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
  • เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
  • มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
  • มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
  • พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยง บางคนไม่พูด
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
  • เด้กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
  • ได้ยินเฉพาะเสียงดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
  • การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง 
  • เด็กจะมีปัญาในการแยกเสียง
  • เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
  เด็กหูหนวก
  • เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
ลักษะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง 
  • ไม่พูด มักแสดงท่าทาง 
  • พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์ 
  • พูด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง 
  • พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกิดความจำเป็น 
  • เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด 
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว 
  • มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย 
เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)
  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง 
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองช้าง 
  • สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1-10 ของคนสายตาปกติ 
  • มีลานสายตากว้าไม่เกิน 30 องศา 
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
  • เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง 
  • ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้ 
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60, 20-200 ลงมาถึงจนบอดสนิท 
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
** คนปกติจะมีลานสายตา 160 องศา ที่จะมองเห็นได้ **
เด็กตาบอดไม่สนิท
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา 
  • สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ 
  • เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20-60, 6/60 ,20-200 หรือน้อยกว่านั้น 
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา


ลักษะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
  • เดินงุ่มง่าม ซนและสะดุดวัตถุ 
  • มองเห็นสีผิดไปจากปกติ 
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา 
  • กัมศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า 
  • เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา 
  • ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน 
  • มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต 
ความรู้ที่ได้รับ
- การทบทวนความรู้เดิมที่มีอยู่
- เทคนิคการทัศนะคติที่ดีต่อเด็ก
- การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการพิเศษ
การนำไปใช้
- นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ เราจะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้
ประเมิน 
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ
เพื่อน : ไม่พูดเสียงดัง มีมารยามในการเรียนการสอน
อาจารย์ : แต่งกายสุภาพ พูดจาไพเราะ มีความเป็นกันเอง

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 1 วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

การบันทึกครั้งที่ 1
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
- ในช่วงแรกอาจารย์ปฐมนิเทศนักศึกษาและพูดข้อตกลงในการเรียนวิชานี้
- เริ่มเรียนเกี่ยวกับทฤฎีต่างๆ ดังนี้


เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ( Early Childhood with special needs )

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. ทางการแพทย์ 
มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ”
หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

2. ทางการศึกษา
ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง

  • เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
  • มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
  • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
  • จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษพัฒนาการ

  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม

  • เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
 Cleft Lip / Cleft Palate
ธาลัสซีเมีย
2. โรคของระบบประสาท

  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
  • ที่พบบ่อยคืออาการชัก

3. การติดเชื้อ

  • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
  • นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง

4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม

  • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ

5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด

  • การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน

6. สารเคมี

  • ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
  • มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญา
แอลกอฮอล์

  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

Fetal alcohol syndrome, FAS

  • ช่องตาสั้น
  • ร่องริมฝีปากบนเรียบ
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น

นิโคติน

  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุ เป็นต้น

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ

  • โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
  •  การเจ็บป่วยในครอบครัว
  •  ประวัติฝากครรภ์
  •  ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
  •  พัฒนาการที่ผ่านมา
  •  การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
  •  ปัญหาพฤติกรรม
  •  ประวัติอื่นๆ

เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า

  •  ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
  •  เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
  • มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  • สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
  • ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย

  •  ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต
  • ผิวหนัง
  • ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

  • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
  • การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
  • แบบทดสอบ Denver II
  •  Gesell Drawing Test
  •  แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล

กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาทดสอบตนเอง โดยใช้แบบทดสอบ
Gesell Drawing Test เป็นการวัดไอคิวเด็กแบบง่ายๆ ลองให้เด็กวาดรูปตามแบบที่กำหนดซึ่งเป็น
ความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือตามระดับอายุที่ควรจะเป็น
Gesell Drawing Test
ความรู้ที่ได้รับ
- การทบทวนความรู้เดิมที่มีอยู่
- เทคนิคการใช้คำพูดเพื่อใช้สนทนากับผู้ปกครอง
- เทคนิคการทัศนะคติที่ดีต่อเด็ก
- เทคนิคการทดสอบสมองของเด็ก
- การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการพิเศษ
การนำไปใช้
- เทคนิคการใช้คำพูดเพื่อใช้สนทนากับผู้ปกครองเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
- วิธีการสังเกตและเทคนิคการเรียนการสอนของเด็กพิเศษในห้องเรียน
- ใช้แบบทดสอบสมองให้แก่เด็กในห้องเรียนได้
- ให้คำปรึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครองได้
ประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งเรียน แต่งตัวถูกระเบียบ
เพื่อน : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
อาจารย์ : แต่งกายเหมาะสม บุคลิกดี สอนเป็นกันเอง มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู